แนะแนว

tcas คืออะไร สิ่งน้องๆ ม.ปลายต้องรู้!!!

tcas คืออะไร สิ่งน้องๆ ม.ปลายต้องรู้!!!

น้องม.ปลายทุกคนต้องเคยได้ยินกันว่า tcas แต่มันคืออะไรกันนะ? บางคนรู้แค่ว่าเกี่ยวกับการเข้ามหาลัย รู้ว่าต้องสอบ TGAT, TPAT และ A-Level แต่หลายคนยังไม่รู้ว่า เกรดเฉลี่ยของเราก็มีผลต่อการเข้ามหาลัยเช่นกันดังนั้นวันนี้พวกเรา fellowie จะมาเล่าให้ฟังว่า tcas คืออะไร แล้วมันเกี่ยวข้องกับการเข้ามหาลัยยังไงบ้าง แถมคำแนะนำสำหรับน้องๆ ม.ปลายทั้ง 3 ชั้นเรียน ในการเตรียมตัวเข้ามหาลัยพวกเรา fellowie เชื่อว่า ถ้าน้องๆ อาจบทวคามนี้จบแล้ว รับรองได้เลย จะเข้าใจ เกี่ยวกับ tcas มากขึ้น และเริ่มเห็นแนวทางในการเตรียมตัวเข้ามาหลัยของตัวเองมากขึ้นด้วย tcas คืออะไร? tcas (Thai University Center Admission System) คือ ระบบกาารคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา มีหน่วยงานที่ดูแลคือ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)  ออกแบบระบบนี้เพื่อลดการสอบที่มากมายลง ให้เหลือเพียงข้อสอบกลางเท่านั้น ในปัจจุบันข้อสอบที่น้องๆ ม.6 จำเป็นต้องสอบเพื่อเป็นเกณฑ์คะแนนยื่นศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในระบบ tcas มี 3 อย่าง คือ A-Level (การสดสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ), TGAT(การทดสอบวัดความถนัดทั่วไป) และ TPAT(การทดสอบวัดความถนัดวิชาชีพ)tcas มีกี่รอบ?ระบบ tcas ในปัจจุบันมีทั้งหมด 4 รอบ คือ (อ้างอิงจาก tcas66)รอบที่ 1 : Portfolio (รอบพอร์ต) เน้นผู้ที่มีความสามารถโดดเด่นในแต่ละด้าน โดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน และไม่มีการสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ แต่ในบางคณะอาจใช้คะแนน TGAT, TPAT และ GPAXรอบที่ 2 : Quota (รอบโควต้า) เน้นคนที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่ตรงกับทางคณะกำหนดให้ เช่น คนในพื้นที่มหาวิทยาลัย หรืออยู่ในเครือข่ายความร่วมมือ โดยใช้คะแนน TGAT, TPAT, A-Level, GPAX หรือข้อสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง (การคิด-คำนวณคะแนนขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย) รอบที่ 3 : Admission เน้นกลุ่มน้องๆ ม.6 ทั่วไป โดยใช้คะแนน TGAT, TPAT, A-Level, GPAX หรือข้อสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง (การคิด-คำนวณคะแนนขึ้นอยู่ระบบกลาง) รอบที่ 4 : Direct Admission เน้นกลุ่มน้องๆ ม.6 ที่พลาดจากรอบ 1-3 โดยมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดเกณฑ์คะแนนเอง)***เกณฑ์ในแต่ละรอบ แต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย และแต่ละปี จะมีความแตกต่างกัน***การยืนยันสิทธิ์ tcas ในแต่ละรอบ? เมื่อผ่านการพิจารณารับเข้าในแต่ละรอบแล้ว น้องๆที่ผ่านในรอบนั้นจำเป็นต้องเข้าระบบ tcas เพื่อ “ยืนยันสิทธิ์” การเข้าศึกษาต่อ ซึ่งสามารถยืนยันสิทธิ์ในการเข้าศึกษาต่อได้เพียงหนึ่งคณะเท่านั้นหากไม่ใช้สิทธิ์ หรือไม่ยืนยันสิทธิ์ในรอบนั้นๆ จะสามารถไปสมัครในรอบต่อไปได้หากยืนยันสิทธิ์แล้ว แต่ต้องการไปสมัครในรอบถัดไป จำเป็นต้องสละสิทธิ์ภายในะยะเวลาที่กำหนด ถึงจะสามารถไปรอบถัดไปได้ ***เมื่อสละสิทธิ์แล้วจะไม่สามารถย้อนกลับมายืนสิทธิ์ในรอบก่อนหน้าได้***สมัคร tcas ช่วงไหน?(อ้างอิงจาก tcas66)รอบที่ 1 : Portfolio (รอบพอร์ต) มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดเอง โดยในบางมหาวิทยาลัยจะเริ่มรับสมัครตั้งแต่ช่วงเดือน ตุลาคม รอบที่ 2 : Quota (รอบโควต้า) มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดเอง โดยในบางมหาวิทยาลัยจะเริ่มรับสมัครตั้งแต่ช่วงเดือน กุมภาพันธ์รอบที่ 3 : Admission สมัครผ่านเว็บไซด์ https://www.mytcas.com/ โดยจะรับสมัครในช่วงเดือน พฤษภาคมรอบที่ 4 : Direct Admission สมัครผ่านเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย โดยจะรับสมัครในช่วงเดือน พฤษภาคม (หลังจากการสละสิทธิ์รอบ 3)น้องๆ ม.ปลาย ควรเริ่มเตรียมตัวอย่างไรดี?น้องๆ ม.4 ควรเริ่มจากการค้นหาตัวเอง ความสนใจ หรือคณะที่อยากจะเข้าเรียน เพื่อสร้างเป้าหมายให้กับตัวเอง และให้รู้ว่า ควรจะเน้นการเรียนในวิชาไหน แต่การทำเกรดในห้องเรียนก็เป็นเรื่องสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะในหลายๆคณะ จะใช้เกรดเฉลี่ยทั้งโดยรวม และรายวิชา เป็นเกณฑ์คะแนนด้วยจะดีกว่าไหม❓ ถ้าการเรียนพิเศษแล้วได้มากกว่าความรู้ เปิดประสบการณ์เรียนพิเศษกับพี่ๆมหาลัยในฝันได้ที่ 👉 แอป fellowieน้องๆ ม.5 สำหรับน้องๆที่ค้นหาตัวเองเจอแล้ว ควรหาข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น วิชาที่ใช้สอบ-เรียน หรือคณะนั้นเปิดรอบไหนบ้าง มีวิธีการไหนที่สามารถเข้าศึกษาต่อได้บ้าง เช่น มีรอบพอร์ตเปิดหรือไม่ แล้วต้องใช้ผลงานด้านไหน เพื่อที่น้องๆ จะได้เตรียมความพร้อมตรงกับคณะในฝันของตัวเองเปิดประสบการณ์เรียนพิเศษออนไลน์กับพี่ๆ มหาลัยในฝันได้ที่ 👉 แอป fellowieน้องๆ ม.6 น้องๆหลายคน คงมีคณะและมหาลัยในฝันของตัวเองแล้ว ในชั้นม.6 นี้พวกเรา fellowie จึงแนะนำว่า ให้น้องๆ กำหนดเส้นทางการเข้าศึกษาต่อของตัวเองให้ชันเจน คือ จะเข้าศึกษาต่อในรอบไหน เพื่อดูว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ถ้าเป็นรอบที่ 1 Portfolio ก็ต้องเตรียมผลงาน และ portfolio ให้ดี ส่วนเป็นรอบที่ 2 และ 3 จะต้องเตรียมตัวสำหรับการสอบข้อสอบกลางให้ดี (TGAT-TPAT, A-Level)  เหลือเวลา 1 ปี ยังไงก็ติวทัน!!! หาติวเตอร์ออนไลน์ที่เหมาะกับน้องๆ ได้ที่ 👉 แอป fellowie แอป fellowie คืออะไร?📌fellowie แอปเรียนออนไลน์ตัวต่อตัวกับติวเตอร์ที่เหมาะกับคุณ👨‍👨‍👧‍👦แหล่งรวมติวเตอร์มากมาย หลากหลายสไตล์❌ ไม่ผูกมัด จ่ายเงินเป็นรายครั้ง❌ ไม่ผ่านนายหน้า✅ ปลอดภัย ไม่โดนโกง 100%✅ ติวเตอร์ทุกคนผ่านการยืนยันตัวตน👩‍🏫 รู้จักโปรไฟล์ & สไตล์การสอน ของติวเตอร์ตั้งแต่ก่อนเรียน🕐 เลือกเวลาเรียนได้เอง⚖️ ราคายุติธรรม เป็นกลาง

แนะแนว

·

โพสต์เมื่อ 26 มีนาคม 2565

ส่องประวัติการศึกษา ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกฯคนที่ 30 ของไทย

ส่องประวัติการศึกษา ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกฯคนที่ 30 ของไทย

หลังจากผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการออกมา พรรคก้าวไกล ได้รับจำนวนที่นั่งสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่า 150 ที่นั่ง และมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ ส่งผลให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือคุณทิม หัวหน้าพรรคก้าวไกล และ candidate นายกรัฐมนตรี ของพรรคก้าวไกล เป็นตัวเต็งที่มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยมากที่สุดความเก่ง การมีทัศนคติที่ดี ทำให้คุณทิม พิธาเป็นที่รักของใครหลายๆคน จนเกิดเป็นวลีเด็ดว่า “ส้มรักพ่อนะคะ” แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า ในตอนเด็กๆ คุณทิม พิธา เคยเกเรขั้นสุด จนต้องถูกส่งไปเรียนที่ต่างประเทศ ถ้าทุกคนอยากรู้แล้วว่า จากเด็กเกเรสุดแสบ กลายมาเป็นตัวเต็งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยได้อย่างไร เราไปดูประวัติด้านการศึกษาของคุณทิมกันดีกว่า ส่องประวัติการศึกษา คุณทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ช่วงประถม-มัธยมต้น เริ่มเรียนที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยจนจบมัธยมต้นช่วงมัธยมปลาย ถูกส่งไปเรียนต่อที่ประเทศนิวซีแลนด์ เพราะ ในช่วงวัยนั้นคุณพิธามีนิสัยเกเรมาก ทั้งการสูบบุหรี่ และมีเรื่องชกต่อยมากมายจนคุณพ่อต้องส่งไปเรียนต่อที่ต่างประเทศปริญญาตรีกลับมาเรียนที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (คณะ BBA) สาขาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการเงิน (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทคุณพิธา เป็นนักเรียนไทยคนแรกที่ได้รับทุน International Student ของ Kennedy School of Government และได้ศึกษาต่อในคณะการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (World University Rankings อันดับที่ 2 ในปี 2023 จัดอันดับโดย Times Higher Education) และปริญญาโทอีกหนึ่งใบ จากคณะบริหารธุรกิจ Sloan, Massachusetts Institute of Technology (M.I.T.) (World University Rankings อันดับที่ 5 ในปี 2023 จัดอันดับโดย Times Higher Education)การศึกษาในไทย VS การศึกษาในต่างประเทศ ในมุมของคุณพิธาได้บอกไว้ว่า การศึกษาในประเทศไทยแทบไม่ต่างกับต่างประเทศเลย แต่คุณภาพการสอน คือสิ่งที่แตกต่าง เพราะ การสอนในต่างประเทศจะเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างครูกับนักเรียน เน้นการถาม-ตอบระหว่างกันมากกว่าการพูดอย่างเดียวและให้นักเรียนนั่งจดตาม#dek67 อยากตามรอยคุณพิธาต้องทำอย่างไร อยากเข้า คณะ BBA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง (อ้างอิงเกณฑ์คะแนนปี 2023)1. SAT และ/หรือ GSAT เกณฑ์คะแนน SAT ที่ใช้Mathematics ไม่น้อยกว่า 600 คะแนน Reading และ Writing ไม่น้อยกว่า 460 คะแนน คะแนนทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่า 1200 บาทการสอบสัมภาษณ์ไม่น้อยกว่า 5 คะแนนเกณฑ์คะแนน GSAT ที่ใช้Mathematics ไม่น้อยกว่า 600 คะแนน Reading, Writing และ Language ไม่น้อยกว่า 460 คะแนนคะแนนทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่า 1200 บาทการสอบสัมภาษณ์ไม่น้อยกว่า 5 คะแนน2. การทดสอบความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ใช้คะแนน TOEFL, IELTS หรือ TU-GET ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ โดยที่TOEFL ไม่น้อยกว่า 80 คะแนนIELTS overall ไม่น้อยกว่า 6.0 และในแต่ละพาร์ทจะต้องไม่น้อยกว่า 5.5 TU-GET Paper-based ไม่น้อยกว่า 550 คะแนน หรือ TU-GET Computer-based ไม่น้อยกว่า 80 คะแนน3. การเขียนบทความภาษาอังกฤษ และการสอบสัมภาษณ์ หัวข้อในการเขียนบทความจะเป็นหัวข้อที่ไม่รู้มาก่อนถ้าน้องๆคนไหนสนใจ อยากตามรอยคุณพิธา สามารถมาปรึกษา หรือติวเสริม เกี่ยวกับการทดสอบด้านภาษาอังกฤษ ติวเตอร์ หรือผู้มีประสบการณ์ในการสอบ TOEFL, IELTS และ TU-GET บนแอป fellowie ได้ที่ 👉 ติวเตอร์ภาษาอังกฤษเปลี่ยนการติวแบบเดิมๆ เป็นการติวที่ติวได้ทุกที่ ทุกเวลา และค้นหาติวเตอร์ที่เหมาะกับตัวคุณได้ที่🚨 fellowie แอปเรียนออนไลน์ตัวต่อตัวกับติวเตอร์ที่เหมาะกับคุณ แหล่งรวมติวเตอร์จากมหาลัยชั้นนำทั่วประเทศ🎓 ไม่ผูกมัด จ่ายเงินเป็นรายครั้ง🎓 ไม่ผ่านนายหน้า🎓 ปลอดภัย ไม่โดนโกง 100%🎓 ติวเตอร์ทุกคนผ่านการยืนยันตัวตน🎓 รู้จักโปรไฟล์ & สไตล์การสอน ของติวเตอร์ตั้งแต่ก่อนเรียน🎓 เลือกเวลาเรียนได้เอง🎓 ราคายุติธรรม เป็นกลางดาวน์โหลดแอป

แนะแนว

·

โพสต์เมื่อ 26 มีนาคม 2565

รวม 5 สนามสอบแข่งขันเชิงวิชาการ สำหรับเด็กม.ปลาย

รวม 5 สนามสอบแข่งขันเชิงวิชาการ สำหรับเด็กม.ปลาย

ทุกคนอยากจะมีผลงาน หรือใบเกียรติบัตรต่างๆ เพื่อเก็บเข้า Portfolio สำหรับการยื่นเข้ามหาลัย แต่เราก็ไม่ได้เป็นนักกีฬา หรือความสามารถพิเศษที่จะไปแข่งขันแล้วมีเกียรติบัตรมาเก็บไว้ แล้วจะทำยังไงได้บ้าง?  ไม่ต้องกังวลไป วันนี้พวกเรา fellowie ได้รวบรวมการสอบแข่งขันวิชาการระดับมัธยมปลายมาให้แล้ว ใครชอบวิชาไหน หรือถนัดด้านไหน ก็ลองสมัครดู (อย่า!!! คิดว่าตัวเองแข่งไปก็แพ้ ถ้ายังไม่ได้ลองแข่ง อย่างน้อยพวกเรา fellowie มั่นใจทุกคนจะได้รับประสบการณ์ดีๆ จากการแข่งขันแน่นอน) ใครสนใจการสอบแข่งขันอันไหน ก็อย่าลืมเซฟบทความนี้เก็บไว้ด้วยหละ ระวัง!!จะพลาดไปนะ บอกเลย นอกจากจะได้เกียรติบัตรแล้ว ถ้าสอบแข่งขันชนะ จะได้รับสิ่งที่คาดไม่ถึงมากมาย เช่น ทุกการศึกษา, การเป็นตัวแทนประเทศ หรือที่สำคัญสำหรับเด็กมัธยมปลาย คือสามารถยื่นเข้ามหาลัยได้แบบไม่ต้องสอบเลยที่เดียว ถ้าใครอยากรู้ว่า มีการสอบแข่งขันอะไรบ้าง แล้วเราสามารถสมัครสอบได้ไหม ถึงสมัครเมื่อไหร่ สามารถดูได้จากบทความนี้ได้เลย1. โอลิมปิกวิชาการ (ค่ายสอวน.) คือ โครงการสอบแข่งขันใน 7 วิชา ได้แก่ ฟิสิกส์, เคมี,ชีววิทยา, คณิตศาสตร์, ภูมิศาสตร์, ดาราศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อหาตัวแทนประเทศไปแข่งขันในระดับนานาชาติ จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)รายละเอียดการสอบแข่งขัน เส้นทางการก้าวเข้ามาเป็นเด็กโอลิมปิกนั้น จะเป็นการเข้าค่ายเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ทั้งเชิงทฤษฎี และปฏิบัติ และสอบเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนต่อไปเรื่อยๆ โดยเริ่มจากการสอบคัดเลือก หากผ่านการคัดเลือก จะต้องเข้าค่ายสอวน. 2 ค่าย และสอบคัดเลือกหาตัวแทนศูนย์ไปเข้าค่าย สสวท. อีก 2 ค่าย เพื่อหาตัวแทนไปเข้าค่ายโอลิมปิดวิชาการ และในค่านนี้เองจะเป็นการสอบแข่งขันรอบสุดท้าย เพื่อให้ได้ตัวแทนประเทศไปแข่งขันโอลิมปิกระดับนานาชาติใครสอบสอวน. ได้บ้าง?น้องๆ ม.1 ถึง ม.5 (ทุกสายการเรียน) ที่สนใจและชื่นชอบใน 7 วิชาข้างต้นสอวน. สมัครและสอบช่วงไหน?เปิดรับสมัครช่วงมิ.ย. - ก.ค. ของทุกปี และสอบเดือน ส.ค.สอวน.ได้อะไรบ้าง?โควต้าเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆโดยไม่ต้องสอบ เช่น จุฬา, มธ., มก., มหิดล หรือมศว. เป็นต้น (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละมหาวิทยาลัย)ได้ความรู้ทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ จากอาจารย์มหาวิทยาลัยค่าสมัครสอวน. เท่าไหร่?100 บาท/วิชารายละเอียดเพิ่มเติมhttps://www.posn.or.th/2. MOS Olympic Thailand Competition (MOS)   คือ การแข่งขันโปรแกรม Microsoft โดยบริษัท ARIT จำกัด เพื่อค้ดเลือกตัวแทนเยาวชนไทยไปแข่งขันรายการ MOS Olympic World Championship ณ ประเทศสหรัฐอเมริการายละเอียดการสอบแข่งขัน เป็นการแข่งขันการใช้โปรแกรม Microsoft Office พื้นฐาน คือ Microsoft Word, Microsoft Excel และ Microsoft PowerPoint ซึ่งเป็นโปรแกรมที่น้องๆหลายคนมักจะคุ้นเคยและใช้งานเป็นประจำ โดยผู้สมัครจะได้รับการอบรมทั้ง 3 โปรแกรมจากวิทยากรของบริษัท  ARIT จำกัด ก่อนการแข่งขันด้วยใครสอบ MOS ได้บ้าง? น้อง ม.ปลาย, ปวช. ปวส. จนถึงระดับมหาวิทยาลัย (อายุ 16 - 21 ปี) ที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านการใช้โปรแกรมทั้ง Microsoft Word, Microsoft Excel และ Microsoft PowerPoint MOS สมัครและสอบช่วงไหน?มิ.ย. - พ.ย. และแข่งในเดือน พ.ย. (อ้างอิงจากปี 2565)MOS ได้อะไรบ้าง?เข้าค่ายอบรมการใช้งานโปรแกรมชุด Miceosoft Office จาก บริษัท ARITทุนการศึกษาจากการเป็นผู้ชนะการแข่งขันระดับประเทศ ตัวแทนประเทศ ในการแข่งขันระดับโลก (ตัวแทนประเทศจะไม่มีสิทธิรับเงินรางวัลอื่นๆ)ค่าสมัคร MOS เท่าไหร่?2,000 บาทรายละเอียดเพิ่มเติมhttps://aritcompetition.com/3. โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.)  คือ โครงการของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ที่ให้ทุนแก่นักเรียนที่มีความสามารถในด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาตร์ ภาษาอังกฤษ และการทำโครงงานหรือวิจัยรายละเอียดการสอบแข่งขัน เป็นสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับ ความรู้ ความสามารถด้านวิชาการ, ภาษาอังกฤษ และความเหมาะสมอื่นๆ เช่น ประวัติส่วนตัว ความตั้งใจ ทัศนคติ ประสบการณ์ การปรับตัว และเชาวน์ปัญญา เป็นต้นใครสอบทุนพสวท. ได้บ้าง?น้องๆที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6ทุนพสวท. สมัครและสอบช่วงไหน?เดือน ธ.ค. (อ้างอิงปี 2565)ทุนพสวท.ได้อะไรบ้าง?ทุนการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรี-ปริญญาเอกโควต้าเข้าศึกษาต่อที่คณะวิทยาศาสตร์ของ 10 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ (จุฬา, มหิดล, เกษตร, ศิลปากร, เชียงใหม่, นเรศวร, ขอนแก่น, สุรนารี, สงขลานครินทร์ และ วลัยลักษณ์)โอกาสฝึกทำงานวิจัย โดยอาจารย์พี่เลี้ยงในมหาวิทยาลัย เป็นผู้ดูแลการหาตำแหน่งงานให้ โดย สสวท.โอกาสทำงานวิจัยหรือแลกเปลี่ยนในต่างประเทศค่าสมัครทุนพสวท. เท่าไหร่?ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ฟรี)รายละเอียดเพิ่มเติมhttp://dpst.ipst.ac.th/4. การแข่งขันเพชรยอดมงกุฎ  คือ การแข่งที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิร่มฉัตรเพื่อแข่งขัน ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในสาขาวิชาต่างๆทั้ง 15 วิชาได้แก่ คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาไทย, พระพุทธศาสนา, ภาษาจีน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาอังกฤษ, ประวัติศาสตร์, เศรษฐศาสตร์,ประติมากรรม, เคมี, ฟิสิกส์, ชีววิทยา, จิตรกรรม และ อาเซียน  รายละเอียดการสอบแข่งขัน แต่ละวิชาจะมีรูปแบบการสอบที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสม และการวัดผลความสามารถใครสอบเพชรยอดมงกุฏได้บ้าง?น้องๆ มัธยม, นิสิต หรือนักศึกษา (บางวิชา) ที่มีความสามารถในวิชาต่างๆ ข้างต้นเพชรยอดมงกุฏสมัครและสอบช่วงไหน?แต่ละวิชาจะกำหนดการรับสมัครแตกต่างกันเพชรยอดมงกุฏได้อะไรบ้าง?ทุนการศึกษาและโล่เกียรติบัตรค่าสมัครเพชรยอดมงกุฏเท่าไหร่?โรงเรียนเป็นผู้ส่งแข่งขันเท่านั้นรายละเอียดเพิ่มเติมhttp://www.romchatra.com/5. การสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ โดยสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คือ การจัดสอบแข่งขันวิชาคณิตศาสตร์เป็นประจำทุกปีเพื่อค้นหานักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์จากทั่วประเทศรายละเอียดการสอบแข่งขัน เป็นการแข่งขันมีหลายรูปแบบ ทั้งการแข่งขันโครงงานคณิตศาสตร์ ที่เป็นประเภททีม 3-4 คน และ การสอนคณิตศาสตร์ ที่แบ่งเป็นประเภททีมและบุคคลใครสอบสมาคมคณิตศาสตร์ได้บ้าง?น้องๆ ประถม-มัธยม ที่มีความสนใจในวิชาคณิตศาสตร์ ทั้งด้านความรู้ และการทำโครงงานคณิตศาสตร์สมาคมคณิตศาสตร์สมัครและสอบช่วงไหน?สอบคณิตศาสตร์ : ก.ค. - ก.ย. (อ้างอิงปี 2562)โครงงานคณิตศาสตร์ : มี.ค. - มิ.ย. (อ้างอิงปี 2565)สมาคมคณิตศาสตร์ได้อะไรบ้าง?ทุนการศึกษาและโล่รางวัลค่าสมัครสมาคมคณิตศาสตร์เท่าไหร่?สอบคณิตศาสตร์ : 150 บาท (บุคคล) และ 480 บาท (ทีม) (อ้างอิงปี 62)โครงงานคณิตศาสตร์ : โรงเรียนเป็นผู้ส่งประกวด (อ้างอิงปี 65)รายละเอียดเพิ่มเติมhttps://www.mathassociation.net/view/iWorkbook.php***สิ่งที่พวกเรา fellowie อยากฝากทุกคนเอาไว้ คือ ข้อสอบในแต่ละสนามสอบแข่งขันจะมีเนื้อหา หรือลักษณะข้อสอบที่ไม่เหมือนกันนะ ทางที่ดีควรหาข้อสอบเก่าลองทำดูก่อน ว่าลักษณะข้อสอบเป็นอย่างไร เน้นส่วนไหนมากกว่ากัน***สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่รู้จะเริ่มอ่านอย่างไรดี อยากเพิ่มความรู้ให้พร้อมกับการสอบแข่งขัน สามารถมาปรึกษา หรือเสริมความรู้กับติวเตอร์ของเราได้ที่👉ติวเตอร์คณิตศาสตร์fellowie แอปเรียนออนไลน์ตัวต่อตัวกับติวเตอร์ที่เหมาะกับคุณ📌 แหล่งรวมติวเตอร์มากมาย หลากหลายสไตล์❌ ไม่ผูกมัด จ่ายเงินเป็นรายครั้ง❌ ไม่ผ่านนายหน้า✅ ปลอดภัย ไม่โดนโกง 100%✅ ติวเตอร์ทุกคนผ่านการยืนยันตัวตน👩‍🏫 รู้จักโปรไฟล์ & สไตล์การสอน ของติวเตอร์ตั้งแต่ก่อนเรียน🕐 เลือกเวลาเรียนได้เอง⚖️ ราคายุติธรรม เป็นกลาง

แนะแนว

·

โพสต์เมื่อ 26 มีนาคม 2565

3 เทคนิคเลือกเรียนพิเศษยังไง ให้เก่งขึ้น ฉบับ นักเรียน-ผู้ปกครองมือใหม่

3 เทคนิคเลือกเรียนพิเศษยังไง ให้เก่งขึ้น ฉบับ นักเรียน-ผู้ปกครองมือใหม่

สำหรับน้องๆ และผู้ปกครอง ที่กำลังจะเริ่มเรียนพิเศษ หรือมองหาที่เรียนพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น การเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ หรือเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ เป็นต้น ให้ลูกๆ ของท่าน แล้วไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนพิเศษที่ไหนดี เรียนพิเศษกับติวเตอร์คนไหนดี  บางคนเคยเรียนแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เรียนไม่รู้เรื่อง ติวเตอร์ไม่เหมาะกับตัวเอง แม้ว่าจะเป็นติวเตอร์ชื่อเสียงและเก่ง แต่พอจะเรียนใหม่ ก็ไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนที่ไหนดี กลัวเรียนไม่รู้เรื่อง ทำให้ต้องเสียเงิน และเวลาโดยเปล่าประโยชน์อีก น้องๆ หรือผู้ปกครองคนไหน เจอปัญหานี้ ต้องอ่านบทความนี้ ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวม 3 เทคนิคเลือกเรียนพิเศษยังไง ให้ได้ผลมากที่สุด เป็นการรวบรวมคำจากแนะนำประสบการณ์ตรงของน้องๆที่ประสบความสำเร็จในการเรียน และผ่านการเรียนพิเศษมาแล้ว 1. วิเคราะห์ และประเมินตัวเองก่อนเรียนขั้นแรกของการเลือกเรียนพิเศษ คือเราควรจะรู้ตัวเองก่อนว่า ต้องการเรียนวิชาอะไร? เหตุผลในการเรียนคืออะไร? และในตอนนี้ระดับความรู้ของเราอยู่ในระดับไหน? โดยแบ่งวัตถุประสงค์ของการเรียนพิเศษได้ดังนี้เสริมความรู้ก่อนเรียนเป็นการเรียนพิเศษ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอม หรือก่อนที่จะเรียนวิชานั้นๆ ซึ่งแปลว่า เรายังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ดังนั้นก็ควรที่จะเริ่มตั้งแต่ปูพื้นฐานความรู้ก่อนสอบในโรงเรียน/เพิ่มความรู้ในห้องเรียนจะแตกต่างกับรูปแบบเสริมความรู้ก่อนเรียน เพราะเรามีความรู้ในห้องเรียนมาบ้างแล้ว แต่เป็นคนเข้าใจช้า เรียนไม่ทันเพื่อน หรืออยากเสริมในจุดที่ยังไม่เก่ง การเรียนรูปแบบนี้ จะเน้นที่สรุปบทเรียนนั้นๆ และเน้นตะลุยโจทย์มากกว่า หรือทดลองทำข้อสอบเสมือนในโรงเรียน เพื่อช่วยให้เพิ่มคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาค หรือปลายภาค และเพื่อเพิ่มเกรดของน้องๆสอบแข่งขัน,งานแข่งต่างๆเนื่องจากทุกสนามสอบ จะมีความยาก-ง่าย และเอกลักษณ์ของข้อสอบแตกต่างกันมาก ดังนั้นการเรียนในรูปแบบนี้ จะเป็นการเน้นปูเนื้อหาเฉพาะสำหรับสนามสอบนั้นๆ และตะลุยโจทย์ข้อสอบเฉพาะ เพื่อให้ได้คะแนนสอบที่ดี หรือผ่านการคัดเลือก ผ่านการแข่งขัน ไปเป็นตัวแทน หรือได้รับรางวัลจากการแข่งขันนั้น ซึ่งสำหรับน้องๆทั่วไปแล้ว พวกเรา fellowie อยากให้น้องๆ ทุกคน สนใจการสอบแข่งขันด้วย เพราะบางการแข่งขัน สามารถใช้ยื่นในการเข้ามหาลัยได้ โดยไม่ต้องสอบ TGAT TPAT หรือ A-Level เลยด้วยสอบเข้ามหาลัย (TGAT TPAT หรือ A-Level )นี่คือหนึ่งในจุดประสงค์ที่สำคัญสำหรับน้องๆ ม.ปลายทุกคนที่เลือกเรียนพิเศษ ซึ่งข้อสอบเข้ามหาลัยเหล่านี้จะไม่เหมือนกับข้อสอบแข่งขันอื่นๆ และแต่ละข้อสอบก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย เช่น TGAT1 จะมีเนื้อหา และลักษณะข้อสอบที่ไม่เหมือนกับ A-Level ภาษาอังกฤษ โดยลักษณะการเรียนพิเศษประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับความรู้ของแต่ละบุคคล บางคนต้องการตะลุยโจทย์เสริมเท่านั้น เพื่อไม่ให้ตื่นกลัว และช่วยเพิ่มความมั่นใจในการสอบ หรือบางคนต้องการปูเนื้อหาในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ หรือบางคนต้องการที่จะทบทวนเนื้อหาที่เคยเรียนผ่านมาทั้งหมดก่อน เพื่อลับคมอาวุธก่อนการตะลุยโจทย์ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันจุดประสงค์ข้อนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวิชาสายภาษามากกว่า โดยจะไม่เน้นที่เนื้อหา หรือการทำข้อสอบ แต่จะเน้นการพูดคุย การเขียน หรือการสนทนาเป็นหลัก ซึ่งเหมาะกับกลุ่มคนทุกเดพศทุกวัย2. เลือกรูปแบบการเรียนให้ตรงกับ lifestyle ของตัวเองปัจจุบันรูปแบบของการเรียนพิเศษมีให้เลือกหลากหลายมาก ทั้ง การเรียนสด เรียนเทป หรือการเรียนออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์ทั้งรูปแบบสดและเทป โดยสองปัจจัยที่เป็นเลือกว่าเราจะเรียนรูปแบบไหนคือ จุดประสงค์ของการเรียน(ในข้อ 1) และ lifestyle ของเรา เช่น ถ้าเราอยากเรียนภาษาอังกฤษเพื่อใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน แต่เราเลือกเรียนแบบอัดเทป จะทำให้การสร้างปฏิสัมพันธ์จริงๆ หรือการพูดคุย ใช้สื่อสารจริงๆ ก็ไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการเลือกเรียนแบบสด ทั้งออฟไลน์ หรือออนไลน์จะเหมาะกว่า หรือหากว่าเราเป็นคนไม่ชอบเดินทาง บ้านอยู่ไกลจากที่เรียนพิเศษ การเรียนแบบออนไลน์จะเหมาะสมกว่าการเรียนที่สถาบันหรือข้างนอก เพราะไม่ต้องเสียค่าเดินทาง ประหยัดเวลาเดินทาง แถม!!ไม่รู้สึกเหนื่อยหรือหมดพลังงานตั้งแต่ก่อนเรียน ซึ่งพวกเรา fellowie ได้แบ่งรูปแบบการเรียนไว้ 6 ประเภท คือการเรียนสดที่สถาบันเป็นการเรียนกับติวเตอร์ตัวจริงๆในห้องเรียนของสถาบันเลย ซึ่งข้อดี : สภาพแวดล้อมเหมาะกับการเรียนมาก, สามารถถามติวเตอร์ได้ หากมีข้อสงสัยข้อเสีย : ถ้าเป็นห้องเรียนใหญ่ๆ แล้วน้องๆ ตามเพื่อนไม่ทัน ไม่เข้าใจส่วนไหน การถามคุณครูในระหว่างเรียนเลยจะเป็นเรื่องยาก, น้องๆจะต้องเดินทางไปที่สถาบัน หากเป็นเด็กที่บ้านไกล จะทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าจนเสียสมาธิในการเรียนได้การเรียนคลิปผ่านคอมพิวเตอร์ที่สถาบันเป็นลักษณะการเรียนผ่านโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ที่สถาบัน แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเรียนผ่า่นคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อดี : น้องๆ เรียนเมื่อไหร่ก็ได้, ปรับความเร็ว-ช้า ย้อนคลิปรวมถึงเล่นซ้ำได้ หากไม่เข้าใจที่ติวเตอร์สอนข้อเสีย : จะมีอุปสรรคเรื่องของการเดินทาง เหมือนการเรียนสดที่สถาบัน และน้องๆ ไม่สามารถถามติวเตอร์ได้ หากมีข้อสงสัยการเรียนกับติวเตอร์ตัวต่อตัวตามร้านกาแฟจะเป็นการนัดเรียนกับติวเตอร์ผ่านสถานที่ต่างๆเช่น ร้านกาแฟ คาเฟ่ หรือร้านอาหารต่างๆ โดยติวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ หรือเคยผ่านการสอบเหล่านั้นมาแล้ว หรือผู้ที่เป็นติวเตอร์ประจำอยู่แล้ว โดยสามารถหาได้จากติวเตอร์ที่รับงานเอง และจากนายหน้าหาติวเตอร์ ซึ่งข้อดี : น้องๆ เรียนเมื่อไหร่ก็ได้ ที่ไหนก็ได้, สามารถถามติวเตอร์ได้ตลอดเวลา หากมีข้อสงสัยข้อเสีย : สภาพแวดล้อมในการเรียนทำให้หลุดโฟกัสในการเรียนได้, หากการตกลงนั้นทำให้ต้องเดินทาง ก็จะเกิดปัญหาคล้ายๆกับการเรียนในรูปแบบสถาบัน, ถ้าเลือกติวเตอร์ที่ไม่ตรงกับตัวเอง จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่ชอบ และไม่อยากเรียน, การหาติวเตอร์จากนายหน้า จะถูกโกงได้ในบางครั้งการเรียนสดในรูปแบบออนไลน์เดี๋ยวนี้หลายสถาบันจะมีการเรียนผ่านออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้สะดวกกับน้องๆ โดยการเรียนสดผ่านออนไลน์ จะเป็นการไลฟ์ผ่านโซเชียลมิเดีย หรือแพลตฟอร์มของสถาบันเอง ซึ่งข้อดี : น้องๆ เรียนเมื่อไหร่ก็ได้ ที่ไหนก็ได้, สามารถถามติวเตอร์ได้ หากมีข้อสงสัย, หมดปัญหาเรื่องการเดินทาง, สามารถสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนได้เองข้อเสีย : การถามติวเตอร์ หากมีข้อสงสัย หรือไม่เข้าใจในระหว่างเรียน จะเป็นเรื่องยากมากขึ้นการเรียนคลิปผ่านคอมพิวเตอร์ในรูปแบบออนไลน์จะคล้ายๆ กับการเรียนผ่านเทปที่สถาบัน แต่เปลี่ยนมาเรียนที่บ้าน ผ่านแพลตฟอร์ม หรือโซเชียลมิเดียของสถาบันเอง ซึ่งข้อดี : น้องๆสามารถเรียนเมื่อไหร่ ที่ได้ก็ได้, ปรับความเร็ว-ช้า ย้อยคลิปรวมถึงเล่นซ้ำได้ หากไม่เข้าใจที่ติวเตอร์สอน, หมดปัญหาเรื่องการเดินทาง, สามารถสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนได้เองข้อเสีย : น้องๆ ถามติวเตอร์ไม่ได้ หากมีข้อสงสัยการเรียนกับติวเตอร์ตัวต่อตัวในรูปแบบออนไลน์จะเป็นการนัดเรียนกับติวเตอร์ผ่านโซเชียลมิเดียต่างๆ, ติวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ หรือเคยผ่านการสอบเหล่านั้นมาแล้ว หรือผู้ที่เป็นติวเตอร์ประจำอยู่แล้ว โดยสามารถหาได้จากติวเตอร์ที่รับงานเอง และจากนายหน้าหาติวเตอร์ ซึ่งข้อดี : เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา หมดอุปสรรคด้านการเดินทาง, เลือกติวเตอร์ได้เอง, หากมีข้อสงสัยสามารถถามติวเตอร์ได้เอง, สามารถสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนได้เองข้อเสีย : ถ้าเลือกติวเตอร์ที่ไม่ตรงกับตัวเอง จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่ชอบ และไม่อยากเรียน, การหาติวเตอร์จากนายหน้า จะถูกโกงได้ในบางครั้ง3. เลือกติวเตอร์ให้เหมาะกับความต้องการของเราข้อนี้สำคัญมากสำหรับการเลือกเรียนพิเศษออนไลน์ เพราะถ้าเลือกติวเตอร์ที่ไม่เหมาะกับเรา ก็ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ชอบ และไม่อยากเรียนได้ เป็นการเสียเงิน และเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือข้อมูลติวเตอร์ ทั้งประวัติและประวัติการศึกษาของติวเตอร์ เพื่อดูว่า ติวเตอร์จบจากที่ไหนมา หรือกำลังศึกษาอยู่ที่ไหน มีความเชี่ยวชาญในวิชาที่เราต้องการเรียนแค่ไหนผลงานของติวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องเป็นประสบการณ์การสอนที่ผ่านมาเท่านั้น จะนับรวมถึง คะแนน หรือรางวัลที่ได้มาจากวิชาที่เราต้องการเรียนด้วยก็ได้ลักษณะนิสัย ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญมาก เช่น หากเราเป็นคนเข้าใจยาก แต่ติวเตอร์เป็นคนสอนเร็ว ก็ทำให้เราเรียนไม่เข้าใจอยู่ดี เสียทั้งเงินทั้งเวลา โดยเปล่าประโยชน์นี่คือ 3 เทคนิค ที่พวกเรา fellowie รวบรวมมาให้ เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกเรียนพิเศษให้กับทุกคน และยังมีอีกหนึ่งตัวช่วยในการหาติวเตอร์เรียนพิเศษที่จะมาแนะนำให้ทุกคน นั่นคือแอป fellowie แอปเรียนพิเศษออนไลน์แบบตัวต่อตัว✅ใช้งานง่าย เพียงแค่ 3 ขั้นตอน ดาวน์โหลด >>> ลงชื่อใช้งาน >>> เลือกติวเตอร์ได้เลย✅ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายและความฝันอยากเรียนเพื่อเพิ่มความรู้, เตรียมตัวสอบเข้ามหาลัย หรือการสอบแข่งขันต่างๆ ✅ดาวน์โหลด และลงชื่อใช้งาน ฟรี!!✅รู้จักติวเตอร์ตั้งแต่ก่อนเริ่มเรียนมีประวัติ, ผลงาน, ประสบการณ์การสอน, การแนะนำตัว, รูปภาพ และวิดีโอแนะนำตัว ให้ได้รู้จักติวเตอร์ประกอบการตัดสินใจ✅ติวเตอร์ทุกคนผ่านการยืนยันตัวตนเพื่อเป็นการตรวจสอบว่า ติวเตอร์มีตัวตนจริงๆ และข้อมูลใน fellowie เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง✅ราคาที่เป็นกลาง และยุติธรรมค่าเรียนค่าสอน เป็นราคาที่ผ่านการสำรวจจากตลาดติวเตอร์ออนไลน์ทั้งหมด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เรียน และติวเตอร์เอง

แนะแนว

·

โพสต์เมื่อ 26 มีนาคม 2565