หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วกรดกับเบสอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ หากพูดถึงกรดให้นึกถึงผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม สับปะรด กีวี เป็นต้น และหากพูดถึงเบสให้ลองนึกถึงพวกน้ำยาทำความสะอาด เช่น โซดาไฟหรือเบกกิ้งโซดา น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก เป็นต้น ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับกรดและเบสมากขึ้น
กรด คือ เป็นสารที่มี H เมื่อนำไปละลายในน้ำจะให้โปรตอน (H+) หรือไฮโดรเจนไอออน
เบส คือ เป็นสารที่มี OH เมื่อนำไปละลายในน้ำจะให้ไฮดรอกไซด์ (OH-)
ค่า pH (Positive potential of hydrogen ion) คือค่าที่ใช้วัดความเป็นกรดหรือเบส โดย pH ต่ำกว่า 7 แสดงว่าเป็นกรด และ pH มากกว่า 7 แสดงว่าเป็นเบส ส่วน pH เท่ากับ 7 แสดงว่าเป็นสารละลายที่มีความเป็นกลาง (Neutral)
ค่า pOH คือค่าที่ใช้วัดความเป็นเบสของสารละลาย โดย pOH ต่ำกว่า 7 แสดงว่าเป็นเบส และ pOH มากกว่า 7 แสดงว่าเป็นกรด
กรดแก่และเบสแก่สามารถละลายในน้ำได้ไอออนบวกและไอออนลบได้อย่างสมบูรณ์ 100%
กรดแก่มีดังนี้: HCl, HBr, Hl, HClO4, HClO3, HNO3, H2SO4
เบสแก่มีดังนี้: LiOH, NaOH, KOH, CsOH, RbOH, Ca(OH)2, Sr(OH)2, Ba(OH)2
กรดอ่อนและเบสอ่อนสามารถละลายในน้ำได้ไอออนบวกและไอออนลบได้บางส่วน 50%
สูตรหาเปอร์เซ็นการแตกตัวของกรดอ่อน:
เปอร์เซ็นต์การแตกตัวของกรดอ่อน = (จำนวนโมลของกรดที่แตกตัว / จำนวนโมลของกรดทั้งทั้งหมด) x 100
สูตรหาเปอร์เซ็นการแตกตัวของเบสอ่อน:
เปอร์เซ็นต์การแตกตัวของเบสอ่อน = (จำนวนโมลของเบสที่แตกตัว / จำนวนโมลของเบสทั้งทั้งหมด) x 100
อ่านต่อเรื่องโมลได้ที่ สรุปเนื้อหาเรื่องโมล