tcas คืออะไร สิ่งน้องๆ ม.ปลายต้องรู้!!!

แนะแนว

·

โพสต์เมื่อ 26 มีนาคม 2565

tcas คืออะไร สิ่งน้องๆ ม.ปลายต้องรู้!!!

tcas คืออะไร สิ่งน้องๆ ม.ปลายต้องรู้!!!

น้องม.ปลายทุกคนต้องเคยได้ยินกันว่า tcas แต่มันคืออะไรกันนะ? บางคนรู้แค่ว่าเกี่ยวกับการเข้ามหาลัย รู้ว่าต้องสอบ TGAT, TPAT และ A-Level แต่หลายคนยังไม่รู้ว่า เกรดเฉลี่ยของเราก็มีผลต่อการเข้ามหาลัยเช่นกัน

ดังนั้นวันนี้พวกเรา fellowie จะมาเล่าให้ฟังว่า tcas คืออะไร แล้วมันเกี่ยวข้องกับการเข้ามหาลัยยังไงบ้าง แถมคำแนะนำสำหรับน้องๆ ม.ปลายทั้ง 3 ชั้นเรียน ในการเตรียมตัวเข้ามหาลัย

พวกเรา fellowie เชื่อว่า ถ้าน้องๆ อาจบทวคามนี้จบแล้ว รับรองได้เลย จะเข้าใจ เกี่ยวกับ tcas มากขึ้น และเริ่มเห็นแนวทางในการเตรียมตัวเข้ามาหลัยของตัวเองมากขึ้นด้วย 

tcas คืออะไร?

tcas (Thai University Center Admission System) คือ ระบบกาารคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา มีหน่วยงานที่ดูแลคือ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)  ออกแบบระบบนี้เพื่อลดการสอบที่มากมายลง ให้เหลือเพียงข้อสอบกลางเท่านั้น ในปัจจุบันข้อสอบที่น้องๆ ม.6 จำเป็นต้องสอบเพื่อเป็นเกณฑ์คะแนนยื่นศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในระบบ tcas มี 3 อย่าง คือ A-Level (การสดสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ), TGAT(การทดสอบวัดความถนัดทั่วไป) และ TPAT(การทดสอบวัดความถนัดวิชาชีพ)

tcas มีกี่รอบ?

ระบบ tcas ในปัจจุบันมีทั้งหมด 4 รอบ คือ (อ้างอิงจาก tcas66)

รอบที่ 1 : Portfolio (รอบพอร์ต)

เน้นผู้ที่มีความสามารถโดดเด่นในแต่ละด้าน โดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน และไม่มีการสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ แต่ในบางคณะอาจใช้คะแนน TGAT, TPAT และ GPAX

รอบที่ 2 : Quota (รอบโควต้า)

เน้นคนที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่ตรงกับทางคณะกำหนดให้ เช่น คนในพื้นที่มหาวิทยาลัย หรืออยู่ในเครือข่ายความร่วมมือ โดยใช้คะแนน TGAT, TPAT, A-Level, GPAX หรือข้อสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง (การคิด-คำนวณคะแนนขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย) 

รอบที่ 3 : Admission

เน้นกลุ่มน้องๆ ม.6 ทั่วไป โดยใช้คะแนน TGAT, TPAT, A-Level, GPAX หรือข้อสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง (การคิด-คำนวณคะแนนขึ้นอยู่ระบบกลาง) 

รอบที่ 4 : Direct Admission

เน้นกลุ่มน้องๆ ม.6 ที่พลาดจากรอบ 1-3 โดยมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดเกณฑ์คะแนนเอง)

***เกณฑ์ในแต่ละรอบ แต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย และแต่ละปี จะมีความแตกต่างกัน***

การยืนยันสิทธิ์ tcas ในแต่ละรอบ?

เมื่อผ่านการพิจารณารับเข้าในแต่ละรอบแล้ว น้องๆที่ผ่านในรอบนั้นจำเป็นต้องเข้าระบบ tcas เพื่อ “ยืนยันสิทธิ์” การเข้าศึกษาต่อ ซึ่งสามารถยืนยันสิทธิ์ในการเข้าศึกษาต่อได้เพียงหนึ่งคณะเท่านั้น
  • หากไม่ใช้สิทธิ์ หรือไม่ยืนยันสิทธิ์ในรอบนั้นๆ จะสามารถไปสมัครในรอบต่อไปได้
  • หากยืนยันสิทธิ์แล้ว แต่ต้องการไปสมัครในรอบถัดไป จำเป็นต้องสละสิทธิ์ภายในะยะเวลาที่กำหนด ถึงจะสามารถไปรอบถัดไปได้

***เมื่อสละสิทธิ์แล้วจะไม่สามารถย้อนกลับมายืนสิทธิ์ในรอบก่อนหน้าได้***

สมัคร tcas ช่วงไหน?

(อ้างอิงจาก tcas66)

รอบที่ 1 : Portfolio (รอบพอร์ต)

มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดเอง โดยในบางมหาวิทยาลัยจะเริ่มรับสมัครตั้งแต่ช่วงเดือน ตุลาคม 

รอบที่ 2 : Quota (รอบโควต้า)

มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดเอง โดยในบางมหาวิทยาลัยจะเริ่มรับสมัครตั้งแต่ช่วงเดือน กุมภาพันธ์

รอบที่ 3 : Admission

สมัครผ่านเว็บไซด์ https://www.mytcas.com/ โดยจะรับสมัครในช่วงเดือน พฤษภาคม

รอบที่ 4 : Direct Admission

สมัครผ่านเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย โดยจะรับสมัครในช่วงเดือน พฤษภาคม (หลังจากการสละสิทธิ์รอบ 3)

น้องๆ ม.ปลาย ควรเริ่มเตรียมตัวอย่างไรดี?

น้องๆ ม.4

ควรเริ่มจากการค้นหาตัวเอง ความสนใจ หรือคณะที่อยากจะเข้าเรียน เพื่อสร้างเป้าหมายให้กับตัวเอง และให้รู้ว่า ควรจะเน้นการเรียนในวิชาไหน แต่การทำเกรดในห้องเรียนก็เป็นเรื่องสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะในหลายๆคณะ จะใช้เกรดเฉลี่ยทั้งโดยรวม และรายวิชา เป็นเกณฑ์คะแนนด้วย

จะดีกว่าไหม❓ ถ้าการเรียนพิเศษแล้วได้มากกว่าความรู้ เปิดประสบการณ์เรียนพิเศษกับพี่ๆมหาลัยในฝันได้ที่ 👉 แอป fellowie

น้องๆ ม.5

สำหรับน้องๆที่ค้นหาตัวเองเจอแล้ว ควรหาข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น วิชาที่ใช้สอบ-เรียน หรือคณะนั้นเปิดรอบไหนบ้าง มีวิธีการไหนที่สามารถเข้าศึกษาต่อได้บ้าง เช่น มีรอบพอร์ตเปิดหรือไม่ แล้วต้องใช้ผลงานด้านไหน เพื่อที่น้องๆ จะได้เตรียมความพร้อมตรงกับคณะในฝันของตัวเอง

เปิดประสบการณ์เรียนพิเศษออนไลน์กับพี่ๆ มหาลัยในฝันได้ที่ 👉 แอป fellowie

น้องๆ ม.6

น้องๆหลายคน คงมีคณะและมหาลัยในฝันของตัวเองแล้ว ในชั้นม.6 นี้พวกเรา fellowie จึงแนะนำว่า ให้น้องๆ กำหนดเส้นทางการเข้าศึกษาต่อของตัวเองให้ชันเจน คือ จะเข้าศึกษาต่อในรอบไหน เพื่อดูว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ถ้าเป็นรอบที่ 1 Portfolio ก็ต้องเตรียมผลงาน และ portfolio ให้ดี ส่วนเป็นรอบที่ 2 และ 3 จะต้องเตรียมตัวสำหรับการสอบข้อสอบกลางให้ดี (TGAT-TPAT, A-Level)  

เหลือเวลา 1 ปี ยังไงก็ติวทัน!!! หาติวเตอร์ออนไลน์ที่เหมาะกับน้องๆ ได้ที่ 👉 แอป fellowie 

แอป fellowie คืออะไร?

📌fellowie แอปเรียนออนไลน์ตัวต่อตัวกับติวเตอร์ที่เหมาะกับคุณ
👨‍👨‍👧‍👦แหล่งรวมติวเตอร์มากมาย หลากหลายสไตล์
❌ ไม่ผูกมัด จ่ายเงินเป็นรายครั้ง
❌ ไม่ผ่านนายหน้า
✅ ปลอดภัย ไม่โดนโกง 100%
✅ ติวเตอร์ทุกคนผ่านการยืนยันตัวตน
👩‍🏫 รู้จักโปรไฟล์ & สไตล์การสอน ของติวเตอร์ตั้งแต่ก่อนเรียน
🕐 เลือกเวลาเรียนได้เอง
⚖️ ราคายุติธรรม เป็นกลาง

fellowie แอปเรียนออนไลน์ตัวต่อตัวกับติวเตอร์ที่เหมาะกับคุณ