คณะวิศวะ สาขาไฟฟ้า หนึ่งในคณะยอดฮิต และความฝันของใครๆหลายคน
คณะวิศวะ สาขาไฟฟ้า หนึ่งในคณะยอดฮิต และความฝันของใครๆหลายคน ที่อยากจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย แต่น้องๆรู้หรือเปล่า ว่าถ้าอยากเข้าคณะนี้ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง? วิชาไหนคือวิชาสำคัญที่ต้องสอบ แล้วแต่ละมหาลัยต้องควรได้คะแนนเท่าไหร่ดี?
วันนี้พวกเรา fellowie ได้รวบรวม “สิ่งที่ต้องรู้ และต้องเตรียมตัวก่อนสอบ tcas รอบ 3” ของคณะวิศวะ สาขาไฟฟ้า ไว้ในบทความนี้แล้ว บอกได้เลยว่า ใครอยากเข้าคณะวิศวะ สาขาไฟฟ้า ต้องห้ามพลาด!!!
(อ้างอิง tcas66 รอบ3)
หมายเหตุ : จุฬาฯ จะเป็น "วิศวะทั่วไป" และสามารถเลือกเรียนไฟฟ้าได้ ตอนปี 2 นะครับ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) :
TPAT3 50%
TGAT 20%
GPA กลุ่มสาระฯคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ฯ และภาษาต่างประเทศ อย่างละ 10%
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬา) :
TPAT3 30%
TGAT, A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 และฟิสิกส์ อย่างละ 20%
A-Level เคมี 10%
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ลาดกระบัง) :
A-Level ฟิสิกส์ 30%
TPAT3 และ A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 อย่างละ 25%
TGAT 20%
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) :
รูปแบบ TGAT-TPAT
TPAT3 60%
TGAT1 และ TGAT2 อย่างละ 20%
รูปแบบ A-Level
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 และฟิสิกส์ อย่างละ 35%
A-Level เคมี และภาษาอังกฤษ อย่างละ 15%
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) :
TPAT3 30%
TGAT และ A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 อย่างละ 20%
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 และ ฟิสิกส์ อย่างละ 10%
A-Level เคมี และ ภาษาอังกฤษ อย่างละ 5%
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) :
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 30%
TPAT3 และ A-Level ฟิสิกส์ 25%
TGAT1 20%
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) :
TPAT3 40%
TGAT, A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 และ A-Level ฟิสิกส์ อย่างละ 20%
ข้อสังเกต : วิชาที่ต้องสอบส่วนใหญ่ คือ A-Level คณิต 1, ฟิสิกส์ และ TPAT 3 ส่วนวิชาอื่นๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาลัย และแต่ละปี
(อ้างอิง tcas65 รอบ3)
เพื่อดูว่า เราจะต้องทำคะแนนเท่าไหร่ ถึงจะมีโอกาสติด เมื่อเทียบกับปีก่อน และอัตราแข่งขันของปีที่แล้ว เป็นอย่างไรบ้าง
(ยิ่งอัตราแข่งขันน้อย แสดงว่า เราไม่ต้องสู้กับคนจำนวนมาก)
คำแนะนำ : เกณฑ์แต่ละปีและรอบ 3 ของแต่ละมหาลัยจะแตกต่างกัน เปรียบเทียบอย่างระวังกันด้วยนะครับ
หมายเหตุ : จุฬาฯ จะเป็น "วิศวะทั่วไป" และสามารถเลือกเรียนไฟฟ้าได้ ตอนปี 2 นะครับ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) 59.41 คะแนน (อัตราการแข่งขัน 1 : 83)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ลาดกระบัง) 57.78 คะแนน (อัตราการแข่งขัน 1 : 43.6)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬา) 51.02 คะแนน (อัตราการแข่งขัน 1 : 1.56)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) 44.91 คะแนน (อัตราการแข่งขัน 1 : 12.44)
มหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) 39.14 คะแนน (อัตราการแข่งขัน 1 : 13.9)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) 38.14 คะแนน (อัตราการแข่งขัน 1 : 16.26)
มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) 37.44 คะแนน (อัตราการแข่งขัน 1 : 7.8)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) 36.25 คะแนน (อัตราการแข่งขัน 1 : 16.8)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) 32.18 คะแนน (อัตราการแข่งขัน 1 : 23.36)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) 31.52 คะแนน (อัตราการแข่งขัน 1 : 17.45)
(อ้างอิง tcas65 รอบ3)
เมื่อรู้คะแนนขั้นต่ำแล้ว ลองมาดูดีกว่าว่า ถ้าทำคะแนนสูงกว่าขั้นต่ำได้แล้ว ควรทำคะแนนให้อยู่ในช่วงไหน
(ยิ่งใกล้เคียงคะแนนสูงสุด ของปีที่แล้ว จะยิ่งดีมากและมีโอกาสที่จะติดสูง เมื่อเทียบกับปีก่อนๆ)
คำแนะนำ : เกณฑ์แต่ละปีและรอบ 3 ของแต่ละมหาลัยจะแตกต่างกัน เปรียบเทียบอย่างระวังกันด้วยนะครับ
หมายเหตุ : จุฬาฯ จะเป็น "วิศวะทั่วไป" และสามารถเลือกเรียนไฟฟ้าได้ ตอนปี 2 นะครับ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย :
คะแนนสูงสุด 85.47 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 51.02 คะแนน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ลาดกระบัง) :
คะแนนสูงสุด 67.77 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 57.78 คะแนน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) :
คะแนนสูงสุด 65.33 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 59.41 คะแนน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) :
คะแนนสูงสุด 54.48 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 44.91 คะแนน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) :
คะแนนสูงสุด 49.70 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 38.14 คะแนน
มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) :
คะแนนสูงสุด 47.41 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 37.44 คะแนน
มหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) :
คะแนนสูงสุด 46.79 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 39.14 คะแนน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) :
คะแนนสูงสุด 45.82 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 36.25 คะแนน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) :
คะแนนสูงสุด 41.00 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 31.52 คะแนน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) :
คะแนนสูงสุด 38.02 คะแนน
คะแนนต่ำสุด 32.18 คะแนน
**เมื่อเทียบสถิติคะแนนย้อนหลังหลายๆปี พวกเรา fellowie พบว่า คะแนนจะเฟ้อสูงขึ้นในทุกๆ ปี ดังนั้น อย่าชะล่าใจหละ!!! ถ้าคำนวณคะแนนของตัวเองแล้ว ก็ควรเปรียบเทียบกับคะแนนแต่ละวิชาของปีก่อนหน้า และปีตัวเองด้วย เพื่อดูว่าคะแนนเฟ้อขึ้นขนาดไหน? มหาวิทยาลัยที่อยากเข้ายังสามารถเข้าได้ไหม?
***แต่ถ้าไม่อยากเป็นกังวล หลังรู้คะแนนสอบแล้ว ก็ควรเตรียมตัวก่อนสอบให้พร้อม จะดีกว่า
ต้องการตัวช่วยเสริมความรู้ ลับคมเทคนิคที่ช่วยทำข้อสอบให้เร็วขึ้น และแม่นยำมากขึ้น อยากเสริมเรื่องที่ไม่เข้าใจ มาปรึกษา หรือเรียนกับติวเตอร์มากประสบการณ์บนเฟโลวีได้ที่ 👉 ติวเตอร์คณิตศาสตร์ และติวเตอร์ฟิสิกส์
fellowie แอปเรียนออนไลน์ตัวต่อตัวกับติวเตอร์ที่เหมาะกับคุณ
❌ไม่ผูกมัด
❌ไม่ผ่านนายหน้า/สถาบัน
❌ปลอดภัย หมดปัญหาโดนโกง 100%
✅ จ่ายค่าเรียนเป็นรายครั้ง
✅ เลือกเวลาเรียนได้เอง
✅เลือกติวเตอร์ได้อย่างมั่นใจ
✅รู้จักติวเตอร์ตั้งแต่ก่อนเรียน